รหัสผลิตภัณฑ์ | 1576 |
ชื่อผลิตภัณฑ์ | ชุดความรู้ "การจัดการเหตุรำคาญ" |
รายละเอียด | ชุดความรู้ "การจัดการเหตุรำคาญ" ประกอบบด้วย
1. คู่มือวิชาการ การควบคุมและจัดการปัญหาเหตุรำคาญ
คู่มือเล่มนี้ เป็นคู่มือวิชาการที่ใช้เป็นองค์ความรู้สำหรับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาเหตุรำคาญที่เกิดขึ้น โดยเนื้อหาเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยเหตุรำคาญกรณีต่างๆ การเลือกเครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งกฏหมายที่ใช้เป็นแนวทางในการควบคุมการดำเนินการดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ
2. คู่มือ ระบบการจัดการเหตุรำคาญและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
คู่มือเล่มนี้ ให้ความสำคัญต่อระบบการจัดการเหตุรำคาญและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงมุ่งเน้นให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเกิดความเข้าใจต่อระบบดังกล่าว ทั้งด้านวิชาการ ประกอบด้วย บทบาทของผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ มาตรฐานการปฏิบัติงาน ระบบเฝ้าระวัง ระบบฐานข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ และอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่น
3. คู่มือวิชาการ แนวทางการตรวจวินิจฉัยปัญหาเหตุรำคาญด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม สำหรับเจ้าหน้าที่
คู่มือเล่มนี้ ใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบ สืบค้นข้อเท็จจริง และเสนอแนะแนวทางในการควบคุมปัญหาเหตุรำคาญที่เกิดขึ้น เนื้อหาประกอบด้วย กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวทางการตรวจวินิจฉัยเหตุรำคาญ เครื่องมือที่ใช้ และกรณ๊ตัวอย่าง
4. คู่มือ การปฏิบัติงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม สำหรับสาธารณสุข "การจัดการเหตุรำคาญ และกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 2"
คู่มือเล่มนี้ อธิบายถึง ความหมายของการจัดการเหตุรำคาญ บทบาทของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ อำนาจหน้าที่ ขั้นตอนการดำเนินงาน สรุปแนวทางการออกคำสั่ง รวมถึง มาตรฐานการปฎิบัติงาน ระบบเฝ้าระวัง และระบบฐานข้อมูล
5. คู่มือวิชาการระบบจัดการเหตุรำคาญ
คู่มือวิชาการระบบการจัดการเหตุรำคาญ เป็นคู่มือวิชาการที่จะไปสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ทางวิชาการมาประยุกต์ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
6. รูปแบบการจัดการปัญหาเหตุรำคาญด้วยกลิ่น จากการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภทการสะสมยางก้อนถ้วย
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการปัญหาเหตุรำคาญเรื่องกลิ่น จากการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภทการสะสมยางก้อนถ้วย โดยทำ การศึกษา เป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและปัจจัยเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยทำการศึกษาในสถานประกอบกิจการ จำนวน 5 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสำรวจสถานประกอบกิจการ และแบบสัมภาษณ์พนักงานในสถานประกอบการ ประชาชน และบุคลากรของอปท. ส่วนระยะที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงทดลองในพื้นที่ (Field experimental study) ในสถานประกอบกิจการ จ นวน 5 แห่ง โดยศึกษาร่วมกับชุมชน ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งกำเนิดกลิ่นและสาเหตุของการเกิดกลิ่น และประสิทธิภาพของการใช้จุลินทรีย์ในการแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่น โดยการเปรียบเทียบค่าระดับความเข้มข้นเฉลี่ยของปริมาณสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายทั้งหมดในบริเวณลานรวบรวมยางก้อนถ้วยก่อนและหลัง การใช้จุลินทรีย์และเปรียบเทียบระดับกลิ่นก่อนและหลังการใช้จุลินทรีย์ในจุดที่ทำการตรวจสอบกลิ่น
|
รูป Display |  |
หน่วยงาน | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม |
ประเภท | องค์ความรู้ (knowledge) ชุดความรู้ (Knowledge series) เอกสารหรือบทความทางวิชาการ (Document) ที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล/ความรู้ (Synthesis of information/knowledge) รวมถึงผลการสำรวจ (Survey results) และผลการประเมิน (Evalation results) |
---|
Select allUnselect all
กรุณาตอบแบบฟอร์มเบื้องต้นเพื่อรับข้อมูลทางสำหรับ Download แฟ้มข้อมูลทาง Email